จ่อใช้ก.ม.เก็บเงินค่ากลั่น-โรงแยกก๊าซเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันอุ้มราคาต่อ

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยถึงข้อเสนอของพรรคกล้า ในการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยการคุมเพดานค่าการกลั่นน้ำมันเพื่อเป็นการป้องกันการทำกำไรเกินควร และลดภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงว่า เรื่องนี้รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษามาแล้ว มีการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มาหารือว่า รัฐบาลสามารถที่จะใช้ข้อกฎหมายใดในการดำเนินการเรื่องนี้ได้หรือไม่  
เบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า จะใช้อำนาจทางกฎหมายของกระทรวงพลังงานในการดำเนินการเพื่อหาวิธีในการเก็บเงินจากหน้าโรงกลั่นเพื่อมาชดเชยและดูแลราคาน้ำมันบางประเภท

ทั้งนี้ได้ศึกษาและหาวิธีในการแก้ปัญหาเรื่องนี้มามากกว่า 1 เดือนแล้ว เมื่อทำในเรื่องการเก็บเงินจากหน้าโรงกลั่นน้ำมันแล้วก็จะดูทั้งหมดรวมทั้งในส่วนของโรงแยกก๊าซด้วยว่าจะต้องมีการเก็บเงินหน้าโรงแยกก๊าซด้วยก็ต้องดูทั้งระบบ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวอีกว่า คณะทำงานของกระทรวงพลังงานได้รายงานเบื้องต้นว่า ปัจจุบันกำไรจากค่าการกลั่นเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5 บาทกว่าต่อลิตร จากที่ราคาเฉลี่ยย้อนหลังของปีนี้อยู่ที่ 2-3 บาทต่อลิตร โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นมาตรงนี้เมื่อพิจารณาแล้วว่าสูงเกินกว่าระดับปกติก็อาจจะมีการพิจารณาเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เป็นต้น  

อย่างไรก็ตามแม้อำนาจหน้าที่ของกระทรวงพลังงานสามารถที่จะดำเนินการได้ อาจจะเป็นการออกกฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวง แต่เรื่องนี้มีผลกระทบหลายด้าน รวมทั้งด้านการค้าและการลงทุน ที่รัฐบาลในอดีตอาจมีการไปสัญญากับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย จึงได้ส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการกฎษฎีกาตีความอีกครั้งก่อนที่จะส่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป โดยคาดว่า ความชัดเจนของกฎหมายจะออกมาภายในเดือนนี้ จากนั้นจึงจะมีการบังคับใช้ต่อไป

ส่วนการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากมาตรการที่จะหมดอายุในเดือน มิ.ย.นี้นั้นนายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (14 มิ.ย.) นี้จะเรียกหน่วยงานเศรษฐกิจทั้งหมด ได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มาหารือกัน ทั้งประเด็นเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจ การดูแลมาตรการต่างๆ ต่อเนื่องไปเมื่อมาตรการเดิมจะหมดอายุในเดือน มิ.ย.นี้ โดยประเด็นที่จะมาหารือกันคือเรื่องของเป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ ทิศทางและแนวโน้มของดอกเบี้ยนโยบาย รวมทั้งมาตรการที่จะช่วยเหลือประชาชนในภาพรวมทั้งเรื่องของพลังงาน ค่าครองชีพของประชาชน เพื่อช่วยลดผลกระทบจากเงินเฟ้อและราคาพลังงานที่ปรับตัวขึ้นหลังจากที่ชุดมาตรการจำนวน 10 มาตรการจะหมดอายุในวันที่ 30 มิ.ย.นี้