ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ! หากไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ โลกอาจปั่นป่วน-โกลาหล-
ทุก ๆ 4 ปี จะเป็นการเวียนมาบรรจบอีกครั้งของ “ปีอธิกสุรทิน” หรือปีที่เดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน และทำให้จำนวนวันของทั้งปีมี 366 วัน ซึ่งบางคนอาจสังเกตง่าย ๆ คือการนำปีคริสต์ศักราช (ค.ศ.) มาหารด้วย 4 ถ้าหารลงตัว ปีนั้นจะมี 29 วัน
โดยทั่วไปเรามักได้ยินว่า ปีอธิกสุรทินมีความสำคัญ เพราะความจริงแล้วแต่ละปีโลกของเราไม่ได้ใช้เวลา 365 วันเป๊ะ ๆ ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ใช้เวลา 365 วันกับอีกประมาณ 6 ชั่วโมง ต่างหาก ทำให้เมื่อครบ 4 ปี เศษเวลาเหล่านั้นก็จะมารวมกันกลายเป็นอีก 1 วันพอดีคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
ตำนานคู่ปีอธิกสุรทิน 29 กุมภาพันธ์ วันหญิงไอริช-สกอต ขอชายแต่งงาน
"29 กุมภาพันธ์" ไขข้อสงสัยทำไม 4 ปีถึงมีครั้ง
นิก อีกส์ นักการศึกษาดาราศาสตร์จากท้องฟ้าจำลองและศูนย์วิทยาศาสตร์มอร์เฮด มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา กล่าวว่า เวลาใน 1 ปีของโลกจริง ๆ เท่ากับ 365.242 วัน
แต่ที่น่าปวดหัวคือ คำว่า “ประมาณ 6 ชั่วโมง” ที่กล่าวถึงข้างต้น ไม่ได้เป็น 6 ชั่วโมงเป๊ะ ๆ อีกเช่นกัน ทำให้การเติมวันที่ 29 กุมภาพันธ์เข้าไปในปฏิทิน 1 วันจะส่งผลให้มีเศษเวลาขาดหายไปราว 44 นาที
นั่นส่งผลให้ต้องมีอีก 2 สูตรในการคำนวณปีอธิกสุรทินคือ หากเป็นปีที่หารด้วย 100 ลงตัว แต่หารด้วย 400 ไม่ลงตัว เช่น ปี 1800 ปี 1900 หรือ 2100 และ 2200 ปีนั้นจะไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เพราะเวลาที่ขาดหายไป 44 นาทีในแต่ละปีอธิกสุรทิน จะทบรวมกันจนทำให้วันหายไป 1 วันพอดี จึงไม่ต้องเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์
แต่หากเป็นปีที่หารด้วย 400 ลงตัว เช่น 2000 หรือ 2400 ล่ะก็ ปีนั้น ๆ จะมีการเติมวันที่ 29 กุมภาพันธ์เข้ามา ด้วยเหตุผลเดิม คือเพื่อให้เวลาส่วนขาดส่วนเกินต่าง ๆ ไม่สูญหายไป
แล้วถ้าไม่มี 29 กุมภาพันธ์ จะเกิดอะไรขึ้น?
ถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัย เพราะเราไม่เคยทราบกันแบบจริง ๆ จัง ๆ และเห็นเป็นรูปธรรมเลยว่า หากทุก 4 ปีไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ จะทำให้เกิดผลลัพธ์หรือผลกระทบอะไร ถึงทำให้การเติมวันเข้ามานี้มีความสำคัญ
ห้องปฏิบัติการขับเคลื่อนด้วยไอพ่นที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (CalTech) ระบุว่า สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ ปีอธิกสุรทินส่วนใหญ่มีไว้เพื่อให้เดือนต่าง ๆ สอดคล้องกับเหตุการณ์ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ประจำปี รวมถึงวันวิษุวัต (วันที่กลางวันบาวเท่ากับกลาวคืน มีปีละ 2 ครั้ง) และวันอายัน (วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด หรือวันที่กลางวันยาวนานที่สุด)
ความหมายก็คือ หากไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ทุก ๆ 4 ปี จำนวนวันบนปฏิทินจะอยู่ที่ 365 วันตลอด ซึ่งทำให้เมื่อไล่ไปเรื่อย ๆ จะทำให้วันวิษุวัตและวันอายันเคลื่อนเข้ามาเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เช่น จากเดิมที่วันวสันตวิษุวัตจะเกิดขึ้น 20 หรือ 21 มีนาคม ของทุกปี ก็จะขยับมาต้นเดือนมีนาคม จากนั้นเมื่อผ่านไปหลายสิบปีหลายร้อยปีก็อาจขยับมาอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์หรือมกราคมแทน ซึ่งจะทำให้เกิดความสับสนอย่างยิ่ง
นอกจากเรื่องของการมาร์กวันต่าง ๆ แล้ว หากวันที่ 29 กุมภาพันธ์หายไปจะส่งผลต่อการรับรู้ฤดูกาลด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรโดยเฉพาะ เพราะก็เหมือนกับวันวิษุวัตและอายัน การมาถึงของฤดูกาลต่าง ๆ มักมีช่วงเวลาที่ใกล้เคียงเดิม เช่น ประเทศไทย เข้าสู่ฤดูร้อนประมาณเดือน ก.พ.-มี.ค. เกษตรกรก็มักจะจำว่า เดือนดังกล่าวต้องปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยและพื้นทนน้ำ
แต่หากไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ฤดูกาลต่าง ๆ ก็จะเกิดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ
ยูนัส ข่าน อาจารย์สอนฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยแอละบามา เบอร์มิงแฮม กล่าวว่า “หากไม่มีปีอธิกสุรทิน หลังจากนั้นอีกไม่กี่ร้อยปี เราก็จะมีฤดูร้อนในเดือนพฤศจิกายน … ส่วนคริสต์มาสจะอยู่ในช่วงฤดูร้อน จะไม่มีหิมะ จะไม่มีความรู้สึกถึงคริสต์มาสเลย”
ท้ายที่สุดแล้ว หากไม่มีปีอธิกสุรทิน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือความปั่นป่วนโกลาหลของทั้งเหตุการณ์สำคัญ ๆ เวลาที่เกษตรกรปลูกพืช และฤดูกาลที่สอดคล้องกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
นอก อีกส์ บอกว่า “หากปีสุริยคติมี 365.25 วันที่สมบูรณ์แบบ เราก็ไม่ต้องกังวลกับคณิตศาสตร์ที่ยุ่งยากแบบนี้แล้ว!”
เรียบเรียงจาก Associated Press
เพื่อนบ้านยึดบ้านอากู๋ ครอบครองปรปักษ์ เครียดคิดสั้น-ผูกคอลาโลก!
ผลบอลเอฟเอ คัพ รอบ 5 แมนซิตี้ ถล่ม ลูตัน 6-2 ลิ่วรอบ 8 ทีม
พายุฤดูร้อน! ประกาศเตือนฉบับที่ 8 ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง