ชง 3 ทางเลือกดึงจีนลงทุนนิคมอุตสาหกรรมไทย
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมเดินทางไปโรดโชว์กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และร่วมบรรยายหัวข้อ “Investment Opportunities in Thai Industrial Estates” ในการสัมมนาชักจูงการลงทุนในประเทศไทย ณ นครเซียงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อตอกย้ำถึงความพร้อมของประเทศไทย โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมไทยในการรองรับ สนับสนุน และอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนจีน ซึ่งได้รับความความสนใจอย่างยิ่งจากผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของจีน ที่ต้องการขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทย โดยขอรับทราบแนวทางการส่งเสริมการลงทุน และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่มีความพร้อม รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่ในประเทศไทย และที่จะติดตามเข้ามาลงทุน
นอกจากนี้ ยังได้เดินทางไปเยี่ยมชมเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองหม่าอันซาน ณ เมืองหม่าอันซาน มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งขึ้นในปี 38 พื้นที่ 128 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม 176 แห่ง มี 3 อุตสาหกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ การผลิตวัสดุอุปกรณ์ระดับไฮเอนด์ อุตสาหกรรมอาหารสมัยใหม่ และอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานทางเลือก ทั้งนี้ คณะได้เข้าเยี่ยมชมบริษัทชั้นนำที่มีความโดดเด่นด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต 4 แห่ง ได้แก่ 1. บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรูปแบบเยลลี่ ซึ่งใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในระบบ Warehouse และ Logistics สามารถลดจำนวนแรงงานที่ใช้ได้ 2คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. บริษัทวิจัยและพัฒนาผลิตและจำหน่ายบล็อก/แผ่นคอนกรีตมวลเบา ซึ่งเป็นองค์กรสาธิตของมณฑลอานฮุยเพื่อการบูรณาการข้อมูลและอุตสาหกรรม ซึ่ง SCG เป็นลูกค้าของบริษัทด้วย 3คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. บริษัทผลิตรถหัวลากที่ใช้เทคโนโลยี New Energy Heavy Truck ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในเมือง และ 4. โรงงานผลิตและจำหน่าย Dairy products เป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดนอกเขตมองโกเลียใน และเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก
คณะของ กนอ. ยังได้เข้าพบ นายซาง เชี่ยงเฉียน รองผู้ว่าการมณฑลอานฮุย และนายเกอ บิน นายกเทศมนตรีเมืองหม่าอันซาน และคณะ เพื่อหารือถึงแนวทางการส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน และการจัดตั้งคณะทำงานร่วม 2 ประเทศ เพื่อสานต่อการดำเนินงานตาม MOU ระหว่าง กระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กับกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนที่มีการลงนามในคราวการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาด้วย
สำหรับ 3 ทางเลือกเพื่อการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ทางเลือกที่ 1 หาพื้นที่ลงทุนเอง โดยมีขั้นตอนการเตรียมการอย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อหาพื้นที่และการจัดทำ EIA การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ทางเลือกที่ 2 ลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่จัดตั้งแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น นิคมอุตสาหกรรม Smart Park จังหวัดระยอง ที่ก่อสร้างไปแล้วกว่า 55% และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2567 หรือลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ว่างขายและให้เช่าอยู่แล้ว และทางเลือกที่ 3 การลงทุนสร้าง สมาร์ท ซิตี้ ร่วมกับเอกชนไทย